ที่พักในอังกฤษ – ชีวิตนักเรียนอังกฤษ
Homestayเหมาะสำหรับนักเรียนใหม่ที่เดินทางไปเรียนคนเดียวโดยไม่มีญาติ พี่น้องอยู่ที่อังกฤษเลย หรือ ไม่รู้จักใครเลยในเมืองนี้ เจ้าของ Homestay นักเรียนที่อยู่กับ Homestay ในช่วงแรก จะได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องและวัฒนธรรมตะวันตก จากเจ้าของบ้าน บางบ้านจะพานักเรียนไปเที่ยวตามสถานที่ ที่น่าสนใจ หรืออาจพาไปงาน สังสรรค์ ที่เพื่อนๆของ เจ้าของ Homestay จัดขึ้นด้วย
Host familyเหมาะสำรับนักเรียนใหม่ เพิ่งเดินทางไปต้องการความมิอิสระมากกว่าพักอยู่กับ Homestay แต่ต้องแชล์ห้องน้ำ และ แชล์ห้องครัว กับนักเรียนต่างชาติ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมกับนักเรียนต่างประเทศ ในประเทศอังกฤษ
Shared Apartmentลักษณะคือการอาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์เดียวกัน โดยหารค่าใช้จ่าย อาทิ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นรายสัปดาห์ 1 ยูนิต ของ
อพาร์ทเม้นท์ อาจมีห้องแยกย่อยข้างในตั้งแต่ 2-5 ห้อง ซึ่งนักเรียนที่เช่าอาจ อยู่ห้องส่วนตัวหรือแชร์ห้องกับนักเรียนต่างชาติคนอื่น แล้วแต่การตกลงกับเจ้าของอพาร์ทเม้นท์และผู้เช่า เป็นที่นิยมสำหรับนักต่างชาติ เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายและยังสร้างสัมพันธ์ และเรียนรู้วัฒนธรรม ใหม่ๆ จากเพื่อนร่วมอพาร์ทเม้นท์ ได้อีกด้วย
Dormitoryหอพักของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะพบมากในมหาวิทยาลัยมาก กว่าศูนย์ภาษา
อังกฤษทั่วไปของเอกชน ซึ่งผู้เช่าจะต้องเช่าเป็นเทอมคือประมาณ 6 เดือน มีการสมัครและแจ้งความจำนงค์ล่วงหน้ากับมหาวิทยาลัย ว่าต้องการ หอพักแบบใด ห้องเดี่ยวหรือแชร์ห้อง และจะอยู่วิทยาเขตไหน เจ้าห
น้าที่หอพักจะจัดดูความเหมาะสมและความจำเป็นของผู้เช่า เพราะบางครั้งนักเรียนจำนวนมากมาขอเช่า หอพักอาจไม่เพียงพอแก่นักเรียนจึงอาจมีการสัมภาษณ์ และพูดคุยถึงความจำเป็น
Hotelมีหลายระดับราคาตั้งแต่ปานกลางไปถึงแพงมาก โรงแรมที่ดีๆ ราคาไม่แพงนักตั้งอยู่ใจกลางเมืองมีหลายที่ แต่ถ้าจะไปเรียน การไปพักโรงแรมชั่วคราว 1-2 อาทิตย์จะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง เมือเทียบกับการพักอาศัยกับ Homestay โรงแรมจึงเหมาะสมกับนักท่องเที่ยวมากกว่า ที่พักในระยะสั้น ๆ
การเปิดบัญชีที่อังกฤษ– ชีวิตเรียนต่ออังกฤษ
การเปิดบัญชี ที่ ลอนดอน เปิดบัญชีที่มีบัตร ATM ถ้าอยู่น้อย กว่า 3 เดือน และต้องการเปิดบัญชีจะต้องนำหลักฐานเหล่านี้ไปด้วย
– พาสพอร์ต
– สมุดบัญชีของเราที่เมืองไทย(แบงก์อะไรก็ได้)ที่แสดง สถานะทางการเงินของเรา เป็น สถานะทางการเงินภาษาอังกฤษ
– จดหมายรับรองจากทางโรงเรียนที่ London
– ถ้าเรามีงาน Part time ที่ London ก็สามารถ นำใบสริปเงินเดือน ไปโชว์ด้วย (ถ้ามี)
สาเหตุที่ต้องเตรียมหลักฐานไปเยอะ เพราะว่า ธนาคารที่ลอนดอนประเทศอังกฤษค่อนข้างจะ เข้มงวด กับนักเรียนต่างชาติ ที่นั่น การมีบัญชี มีความสำคัญเทียบเท่า หมายเลขบัตรประชาชน และสามารถทำ ธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ได้มากมาย กู้เงิน ขอบัตรเครดิต หรือ อื่น ๆ ซื้อของ
ดังนั้น เมื่อเปิด บัญชี ในตอนแรก เราจะได้ หมายเลขบัตรบัญชี และ ATM (บาง ธนาคารให้ บัตรเดบิต เลยครับ)
เมื่อเรา ใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง ทาง Bank จะ เปลี่ยนบัตร ให้เป็น บัตร เดบิตการ์ด จะสามารถใช้ซื้อของ ได้เทียบเท่าบัตรเครดิต แต่ไม่ต้องเสีย ดอกเบี้ยเงินกู้เหมือนบัตรเครดิต คือ เมื่อเราใช้บัตรซื้อของ ก็จะหักเงินออกจากบัญชีเราเลย แถมได้ดอกเบี้ยเงินฝากด้วย
ส่วนคนที่อยู่มากกว่า 3 เดือน ให้นำ หลักฐานขั้นต้นข้างบน รวมกับใบเสร็จที่ยืนยันที่อยู่ ของเราที่ Londonประเทศอังกฤษที่ชัดเจนว่าเราอยู่ที่ใหน เช่น ใบเสร็จค่าน้ำ ค่าไฟ ของบ้านที่เราเช่าอยู่ และถ้าเป็นไปได้ให้ ขอจดหมายยืนยันจากเจ้าของบ้านที่เราเช่าอยู่ ให้ยืนยันว่าเราได้พักอยู่ที่บ้านหลังนั้น (ถ้าในใบเสร็จ ค่าน้ำค่าไฟมีชื่อเราอยู่ด้วยจะทำให้เราสามารถเปิด บัญชีได้ง่ายขึ้น)
ระบบขนส่งในอังกฤษ- รถไฟใต้ดินที่อลอนดอน (London Underground)
การเดินทางที่สะดวกสบายที่สุดในลอนดอน คือรถไฟใต้ดิน กับ รถไฟ อย่าเพิ่งตกใจว่า ทำไมเส้นทางมันช่างสับสนในความเป็นจริงวิธีใช้ง่ายมาก วิธีใช้ง่ายมาก รถไฟใต้ดิน จะมีวิ่ง ไป และ กลับ สีแดงก็จะวิ่งเพียงเส้นทางสีแดง สีน้ำเงิน ก็จะวิ่งเส้นทางสีน้ำเงินเท่านั้นและจะมีสถานีปลายทาง บอกไว้ เช่น ขบวนรถไฟใต้ดินสีแดงมีสถานีปลายทาง Ealing Broadway รถไฟใต้ดินก็จะวิ่ง จากด้านขวามือสุด มา ยังด้านซ้ายสุดที่สถานีปลายทาง Ealing Broadway ในทางกลับกัน ถ้าเราต้องการใช้สีแดงแต่จะไปด้านขวามือ ก็ดูที่สถานีปลายทางด้านขวามือ รถไฟใต้ดินก็จะวิ่งไปด้านขวามือดั้งนั้น รถไฟใต้ดินสายสีอื่น ๆ ก็ใช้วิธีเดียวกันเช่นกัน คือดูที่สถานีปลายทางเป็นหลัก ส่วนจุดกลม ๆ หมายความว่า สามารถเปลี่ยนรถไฟใต้ดินจากขบวนสายสี หนึ่งเป็น อีก สีหนึ่ง เพียงเท่านี้ เราก็สามารถเที่ยวได้ทั่วลอนดอนประเทศอังกฤษแล้วครับ
และรถไฟใต้ดินแบ่งตั๋วการเดินทางออกไปเป็นโซน ซึ่งราคาแตกต่างกันไป แนะนำให้ซื้อตั๋ว Travel card(zone1-4) อีกทั้งตั๋วชนิดนี้ยังสามารถใช้ขึ้นรถบัสได้ทุก ๆ สาย อีกด้วย ตั๋ว London Underground มีอยู่หลายแบบครับ อย่างแรก
ตั๋ว ท่องเที่ยว ในหนึ่งวันครับ ตามในภาพ Travel card
ในตั๋วจะระบุ วันที่ ชนิดตั๋ว และ โซนครับ ในตั๋วตัวอย่างนี้ สามารถใช้ใด้ในหนึ่งวัน คือวันที่ 18 ตุลาคม 2004 และ เฉพาะโซน 1-2 และจะเข้าหรือออกกี่ครั้งก็ได้ครับ ในโซน 1 และ 2 และอีกทั้งยังสามารถใช้ ขึ้น รถบัสได้ทุกโซนครับ โดยไม่ต้องจ่ายเงินขึ้นรถบัสอีกในวันนั้น ๆ ครับ เวลาเลือกซื้อ ก็ลองวางแผนดูว่าเราต้องใช้เดินทางไปโซนใหนบ้าง และ เราต้องใช้รถไฟใต้ดินกี่ครั้ง
ตั๋วแบบที่สอง ตั๋ว เที่ยวเดียว
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า นี่คือ Single (ตั๋วเที่ยว) จะสามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียว และไม่สามารถใช้ได้อีก อีกทั้งไม่สามารถใช้กับรถบัสได้
ตั๋วสัปห์ดา ตั๋วเดือน ตั๋วปี
ตัวชนิดนี้จะมีหน้าตา เหมือนตัวอย่าง แต่จะแตกต่างตรงที่ วันที่ ที่ระบุวันหมดอายุ บนบัตร และ จะต้องใช้รูปถ่ายเพื่อที่จะทำบัตรสมาชิกรถไฟใต้ดิน ซึ่ง รหัสสมาชิกจะระบุบนตั๋วด้วย อีกทั้ง เวลาเจ้าหน้าที่มาตรวจ ต้องแสดง บัตรพร้อมทั้งตั๋วที่เรามีด้วย Oyster Card เป็นตั๋วประเภทสัปห์ดา เดือน หรือ ตั๋วปี เช่น กัน แต่เป็นแถบแม่เหล็ก แค่แตะตามรูปก็สามารถ เดินผ่านได้เลยระบบรถไฟใต้ดินที่อังกฤษมีมานาน ทำให้ตั๋วระบบแม่เหล็กเพิ่งนำเข้ามาติดตั้ง และ ตั๋วสัปห์ดาขึ้นไป นั้นรวมถึง การใช้รถบัส ด้วย ซึ่งสามารถขึ้น ลอนดอนบัสได้ทุก ๆ โซนเลยครับ อีกทั้ง ยังสามารถใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งครับ แต่ต้องอยู่ในโซนที่เราเลือกที่จะใช้
รถบัสที่ลอนดอน–ชีวิตเรียนต่ออังกฤษ
ให้ดูจุดหมายปลายทางเป็นหลัก ที่อยู่ด้านบน ยกตัวอย่าง ดูตามรูปนะครับ ว่าจะเห็นด้านบนด้านหน้าของรถบัส เขียนหมายเลข ตัวหนังสือตัวเล็ก และตัวใหญ่ ความหมายนะครับ ตัวหนังสือตัวใหญ่หมายถึง สถานีปลายทางที่บัสสายนี้จะวิ่งไป และ ส่วนตัวหนังสือตัวเล็ก จะบอกสถานที่ที่ผ่านครับ เช่นรถบัสด้านซ้าย หมายเลข 11 กำลังจะวิ่งไป Chelsea ครับ ผ่าน Victoria, Charing Cross , Bank เพื่อความแน่ใจ ให้ถามคนขับครับ ว่าผ่านจุดหมายปลายทางที่เราต้องการไปหรือไม่ครับ
ตั๋วรถบัส มีสองประเภท–ชีวิต อังกฤษ
1.ตั๋ว แบบ ใช้ครั้งเดียว คือตั๋วที่เรา เพียงแค่ขึ้นรถบัส และ สามารถซื้อได้บนรถทันที ตั๋ว
2. แบบรายสัปห์ดา จะต้องระบุโซน ว่าเราจะใช้โซนใหน สอบถามพนักงานเพิ่มเติมก่อนที่จะซื้อ
ตามแผนที่ที่เห็น เป็นเส้นทางการเดินรถของ รถบัส ซึ่งจะบ่งบอกว่า สีใหน พร้อมทั้งหมายเลขอะไร จะวิ่งไปยัง สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของลอนดอน ครับ ก็เหมือนกัน ครั
บ รถบัสจะบอกสถานีปลายทาง รถบัสก็จะวิ่งไปทางนั้นครับ แต่อย่าคิดว่ารถบัสจะมีสีของรถเหมือนกับเส้นทางในแผนที่ ทุกคันสีแดงเหมือนกันหมด แต่ ให้ดูที่หมายเลข กับ จุดหมายปลายทางที่รถบัสวิ่ง เท่านี้ ท่านก็สามารถใช้ รถบัสในลอนดอนแล้ว
ค่าครองชีพ–ชีวิตเรียนต่ออังกฤษ
อังกฤษเป็นประเทศที่ค่าครองชีพสูงติดอันดับต้นๆ ของโลกโดยเฉพาะที่ลอนดอนประเทศอังกฤษโดยทั่วไป นักศึกษาต่างชาติที่พำนักอยู่ในลอนดอน จะใช้จ่ายประมาณสัปดาห์ละ 200 Pound น้องแต่ละคนอาจจ่ายมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับการจับจ่ายใช้สอยของแต่ละคน ตารางข้างล่างเป็นการประมาณการค่าใช้จ่าย 1สัปดาห์ ดังนั้นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับ น้อง ๆ ที่อยากหลีกเลี่ยงค่าครองชีพที่สูงในลอนดอน พี่แนะนำว่าควรเลือกเมืองอื่น ๆ ในอังกฤษจะช่วยประหยัดงบประมาณของน้อง ๆ ได้มาก
ระบบการดูแลรักษาสุขภาพ– ชีวิตเรียนต่ออังกฤษประเทศอังกฤษ
– การขอหมายเลขประจำตัว (GP) ระบบการรักษาโรคของ UK การจะเข้ารับการรักษาไม่ต้องเสียเงินใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่เสียค่ายา ขั้นตอนการขอเข้าตรวจรักษา เพื่อความสะดวกสบายของน้อง ๆ จะต้องลงทะเบียนกับสถานพยาบาล โดยจะมีแพทย์ที่จะดูแลสุขภาพของน้อง ๆ เพียงคนเดียว (GP) การลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนกับ สถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด กับที่พักที่เราอยู่ และทางสถานพยาบาลจะออกหมายเลข (GP)ให้กับน้อง ๆ และเมื่อน้องเกิดไม่สบาย น้อง ๆ ต้องโทรไปนัดล่วงหน้ากับ สถานพยาบาลนั้น ๆ โดยที่น้องไม่ต้องเสียเวลาต่อคิวเข้ารับการรักษา
– ในกรณีที่ป่วยฉุกเฉิน ในกรณีที่น้องป่วยหนัก น้อง ๆ สามารถเดินเข้าไปที่โรงพยาบาล แผนก ฉุกเฉิน (Emergency) ได้ทันที โดยต้องใช้เวลาพอสมควรในการต่อคิวเพื่อเข้ารับการรักษา
————————————–
เรียนต่ออเมริกา กับเรา Study Square co.,Ltd.Study Square Co., Ltd
Study Square Co., Ltd เตรียมทีมงานมืออาชีพ เพื่อแนะแนวเรียนต่อต่างประเทศ – เรียนต่ออังกฤษ เรียนต่อออสเตรเลีย เรียนต่ออเมริกา บริการด้วยแนะแนวเรียนต่ออย่างมีคุณภาพและความเป็นธรรม เพื่อความสำเร็จในการศึกษาต่อของนักเรียนในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย อย่างแท้จริง
ติดต่อเพื่อเรียนต่อกับเราที่ Study Square Co.,Ltd. 5 Leabkunaikim1 Lane, Leabkunaikim1 Rd, Srikan, Donmuang, Bangkok, 10210 Thailand.
Tell : 089-1261024, 02-9291231 (พี่กฤต)
email : studysquares@hotmail.com, studysquares@ymail.com
Facebook : http://www.facebook.com/pkrit.squares
ความเห็นล่าสุด