Sentence คือ อะไร ตอบ Sentence คือ “ประโยคในภาษาอังกฤษจะต้องประกอบด้วย ประธาน (Subject) และภาคแสดง (Predicate)”
โครงสร้างประโยคพื้นฐานในภาษาอังกฤษ แบ่งออกได้ดังนี้
|
พิจารณาข้อความภาษาอังกฤษข้างล่างนี้ว่าจัดเป็นประโยคได้หรือไม่
( a ) Dropped a letter in the box.
( b ) David wrote a letter.
( c ) David who is an undergraduate student.
ประโยคในภาษาอังกฤษจะต้องประกอบด้วยภาคประธาน ( subject) และภาคแสดง (predicate)
พร้อมทั้งมีเครื่องหมาย period หรือ full stop (.) ข้างท้ายประโยคด้วย
ในที่นี้ มีข้อความ ( b ) เท่านั้นที่มีครบทั้งภาคประธานคือ David และภาคแสดงคือ wrote a letter ในขณะที่ข้อความ ( a ) และ ( c ) มีเฉพาะภาคแสดงและภาคประธานตามลำดับ ดังนั้น ( b ) จึงจัดเป็นประโยค
ภาคประธานอาจเป็นคำคำเดียว หรือมากกว่าหนึ่งคำ ส่วนภาคแสดงอาจเป็นคำกริยาคำเดียว หรืออาจประกอบด้วยคำอื่น ๆ อีก ได้แก่
คำที่ทำหน้าที่เป็นกรรม ( object) ซึ่งแบ่งเป็นกรรมตรง ( direct object – DO) และกรรมรอง ( indirect object – IO)
ส่วนเสริม ( complement) ซึ่งแบ่งเป็น subject complement (C S ) และ object complement (C O ) ทั้งนี้ อาจมีส่วนขยาย (adverbial) ด้วยก็ได้ บางตำราได้รวมส่วนที่ทำหน้าที่เป็นกรรมไว้ในกลุ่มของ complement
โครงสร้างประโยค แบบที่ 1
Structure | Example |
1. Subject(S)+Verb(V) | Wind blows. S V A group of students are walking to school . S V (ADV)
|
ประโยคที่สั้นที่สุดในภาษาอังกฤษจะมีเพียงประธานและกริยาที่ไม่ต้องการกรรม (intransitive verb) อย่างละหนึ่งคำดังในตัวอย่างประโยคแรก (ทั้งนี้ ไม่นับรวมประโยคที่ละประธานไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น Stop.)
ส่วนประโยคที่สอง ภาคประธานเป็นกลุ่มคำนามและภาคแสดงเป็นกริยาที่มีส่วนขยายคือ are walking เป็นกริยา ส่วน to school เป็นส่วนขยาย
โครงสร้างประโยค แบบที่ 2 และ แบบที่ 3
2. Subject(S)+Verb(V)+Subject complement Noun(C S N) 3. Subject(S)+Verb(V)+Subject Complement Adjective(C S A) |
David is a student. S V C S N Her daughters look lovely. S V C S A |
กริยาเชื่อม ( linking verb – v-link) คือ กริยาที่เชื่อมประธานกับคำนาม หรือคำคุณศัพท์ กริยาเชื่อมมีหลายคำด้วยกัน เช่น BE (is, am, are, was, were), appear, seem, become, look, sound, smell, taste, feel เป็นต้น
ส่วนที่ตามหลังคำกริยาเชื่อมถือว่าเป็น subject complement ซึ่งเป็นส่วนเสริมประธานทำให้มีความหมายสมบูรณ์ขึ้น
โครงสร้างประโยค แบบที่ 4
4. Subject(S)+Verb(V) + Adverb (ADV) | They are here. S V ADV Their newborn baby is upstairs with the nanny . S V ADV |
กริยาเชื่อมอาจตามด้วยคำกริยาวิเศษณ์ ( adverb) ซึ่งเป็นส่วนขยายได้ด้วย ในที่นี้ เป็นคำกริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ คือ here
ส่วนประโยคที่สอง upstairs with the nanny ( ข้างบนกับพี่เลี้ยง ) เป็นส่วนขยายคำกริยา is
โครงสร้างประโยค แบบที่ 5
5. Subject(S)+Verb(V)+Object(O) | Cows eat grass. S V O A new employee has surfed the Internet for an hour . S V O (ADV) |
ในประโยคแรกทั้งประธาน กริยา และกรรมเป็นคำเพียงคำเดียว โดยภาคแสดงประกอบด้วยคำกริยาที่ต้องการกรรม ( transitive verb) คือ eat และกรรมคือ grass
ในขณะที่ประโยคที่สองต่างเป็นกลุ่มคำ โดยมีส่วนขยายท้ายประโยคด้วย
โครงสร้างประโยค แบบที่ 6 และ แบบที่ 7
6. Subject(S)+Verb(V)+Indirect Object (IO)+Direct Object(DO)7. Subject(S)+Verb(V)+Direct Object(DO)+Indirect Object(IO) | Brad gave Angie a bouquet of roses. S V IO DO Brad gave a bouquet of roses to Angie. S V DO IO |
คำกริยา give ในที่นี้เป็นคำกริยาที่ต้องการทั้งกรรมรองและกรรมตรง ประโยคนี้อาจเขียนได้อีกลักษณะหนึ่งว่า
Brad gave a bouquet of roses to Angie. โดยวางกรรมตรงคือ a bouquet of roses ไว้ต่อจากคำกริยา แต่ต้องใช้คำบุพบท to ก่อนที่จะมีกรรมรองคือ Angie ตามมา
8.Subject(S)+Verb(V)+Object(O)+ Object Complement Noun (C O N) 9.Subject(S)+Verb(V)+Object(O)+ Object Complement Adjective (C O ADj) |
That boy called his dog Bravo. S V O C O N He painted his baby’s room blue. S V O C O ADJ |
คำกริยากลุ่มนี้ นอกจากมีกรรมตรงแล้ว ยังต้องมี object complement ซึ่งเป็นส่วนเสริมกรรมเพื่อขยายความ หรืออธิบายส่วนที่เป็นกรรมให้ได้ความหมายชัดเจนสมบูรณ์ขึ้น
คำกริยาที่ตามด้วย object complement ที่เป็นคำนาม เช่น name, elect, appoint, consider ส่วนคำกริยาที่ตามด้วย object complement ที่เป็นคำคุณศัพท์ เช่น find, think, keep, make
ประโยคทั้งสองนี้มีโครงสร้างที่เหมือนกันคือ มี object complement ต่างกันตรงที่ประโยคแรกเป็นคำนาม และประโยคที่สองเป็นคำคุณศัพท์ ในประโยคแรก Bravo ซึ่งเป็นคำนามขยายความให้ทราบว่าสุนัขซึ่งเป็นกรรมของประโยคนี้ชื่อว่าอะไร ส่วนประโยคที่สอง blue ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์บอกให้ทราบว่าห้องเด็กนั้นทาสีฟ้า
อนึ่ง ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ประโยคพื้นฐานเหล่านี้อาจมีส่วนขยายได้ ดังนั้น ประโยคข้างต้นบางประโยคสามารถเพิ่มส่วนขยายเข้าไป โดยอาจเป็นส่วนขยายที่บอกความเคลื่อนไหว สถานที่ หรือเวลา เช่น
Wind blows through the window . ( บอกความเคลื่อนไหว ดูโครงสร้าง 1)
David is a student at Indiana University . ( บอกสถานที่ ดูโครงสร้าง 2)
They are here at the moment . ( บอกเวลา ดูโครงสร้าง 3)
Brad gave Angie a bouquet of roses at a restaurant last night . ( บอกสถานที่และเวลา ดูโครงสร้าง 5)
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาประกอบกับโครงสร้างคือ ความหมาย
คำกริยาบางคำต้องใช้กับประธานที่เป็นสิ่งมีชีวิตเท่านั้น ถึงแม้จะใช้โครงสร้างประโยคที่ปรากฏใน 1-6
ประโยคนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นประโยคที่ถูกต้อง ขอให้พิจารณาประโยคต่อไปนี้
a. Colorful fish are swimming in the pond.
b. A small boat is swimming in the sea.
คำกริยา swim ต้องใช้กับสิ่งมีชีวิตเท่านั้น เนื่องจากสิ่งไม่มีชีวิตย่อมไม่สามารถว่ายน้ำ
ดังนั้น ประโยคในข้อ b. ซึ่งแม้จะใช้โครงสร้างประโยคพื้นฐานตามข้อ 1 (S + V) แต่ไม่ใช่ประโยคที่ถูกต้อง
คำกริยาที่ควรใช้ในที่นี้คือ sail A small boat is sailing in the sea.
ความเห็นล่าสุด